Iron Chef Thailand เชฟกระทะเหล็กไทยแลนด์ย้อนหลัง
เชฟกระทะเหล็ก ไทยแลนด์ Iron Chef Thailand ย้อนหลัง 4 มี.ค. 2558
รายการ “เชฟกระทะเหล็กประเทศไทย" “ประธานสันติ” จัดหนัก..สุดยอดวัตถุดิบ ที่ต้องตะลึง!
มันกันต่อกับ “ศึกลูกผู้หญิง" เมื่อเชฟสาวสวย “เชฟอุ้ม-พนิต ปาละพงศ์" เจ้าของร้านขนมที่มีชื่อเสียงร้านหนึ่ง บนถนนนิมมานเหมินท์ จังหวัดเชียงใหม่ ที่ไม่ว่าใครไปเยือนจังหวัดเชียงใหม่ เป็นต้องแวะไปลองลิ้มชิมรสชาติของขนมสุดอร่อยที่ร้านนี้ มาเยือนเวที คิทเช่น สเตเดี้ยม (Kitchen Stadium) ในครั้งนี้ เธอขอปะมือกับเชฟกระทะเหล็กอาหารหวานคนเดียวของรายการ “เชฟไก่-ธนัญญา วิลคินสัน" เพื่อทําให้เชฟไก่ได้เห็นว่า เธอนี่แหละคือเชฟขนมหวานตัวจริง! ศึกครั้งนี้จะมันแค่ไหน ติดตามชมได้ในรายการ เชฟกระทะเหล็ก ประเทศไทย คืนวันพุธที่ 4 มีนาคมนี้ 5 ทุ่มตรง ทางช่อง 7 สี และช่อง 7HD ห้ามพลาด!!
ตัวอย่าง ไทยแลนด์ Iron Chef Thailand
เชฟกระทะเหล็กไทยแลนด์ ย้อนหลัง 4 มี.ค. 8
คลิปรายการเชฟกระทะเหล็กประเทศไทย ช่อง7 (Iron Chef Thailand) วัตถุดิบหลัก : – วัตถุดิบปริศนา : -
เชฟกระทะเหล็กไทยแลนด์ ย้อนหลัง วันที่ 4 มีนาคม 2558
เชฟกระทะเหล็กไทยแลนด์ ย้อนหลังเชฟกระทะเหล็กไทยแลนด์ ย้อนหลัง 4 มีนาคม 2558 -2
เชฟกระทะเหล็กไทยแลนด์ ย้อนหลังเชฟกระทะเหล็กไทยแลนด์ ย้อนหลัง 4 มีนาคม 2558 -3
เชฟกระทะเหล็กไทยแลนด์ ย้อนหลังเชฟกระทะเหล็กไทยแลนด์ ย้อนหลัง 4 มีนาคม 2558 -4
เชฟกระทะเหล็กไทยแลนด์ ย้อนหลังเชฟกระทะเหล็กไทยแลนด์ ย้อนหลัง 4 มีนาคม 2558 -5
เชฟกระทะเหล็กไทยแลนด์ ย้อนหลังเชฟกระทะเหล็กไทยแลนด์ ย้อนหลัง 25 กุมภาพันธ์ 2558 -6
เชฟกระทะเหล็กไทยแลนด์ ย้อนหลัง
เกี่ยวกับรายการเชฟกระทะเหล็กไทยแลนด์
เชฟกระทะเหล็ก ประเทศไทย (อังกฤษ: Iron Chef Thailand) เป็นเกมโชว์การทำอาหาร ออกอากาศทุกวันพุธ เวลา 23.00 น. – 01.00 น. (15 เมษายน พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป ได้เพิ่มรายการย่อยอีกหนึ่งรายการ ชื่อว่า เชฟกระทะเหล็ก ศึกวันล้างตา ออกอากาศทุกวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 09.00 น. – 10.00 น.) โดยเริ่มอากาศครั้งแรกเมื่อวันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2555 ทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ตามรูปแบบของรายการ ยุทธการกระทะเหล็ก (อังกฤษ: Iron Chef ญี่ปุ่น: 料理の鉄人) ที่ออกอากาศครั้งแรกวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2536 โดยได้รับลิขสิทธิ์จากบริษัท ฟูจิ ครีเอทีฟ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ประเทศญี่ปุ่น โดยได้รับลิขสิทธิ์ในการผลิตรายการนี้ ในอีกหลายภาษา
รูปแบบของรายการเชฟกระทะเหล็กไทยแลนด์
จะแบ่งออกเป็น 3 ช่วง ดังนี้
ช่วงสรรหาผู้ท้าชิงและเมนูพิเศษเฉพาะตัว
ประธานสรรหาทั้ง 3 คน จะทำการคัดสรรเชฟที่มีฝีมือจากทั่วสารทิศ มาเป็น เชฟผู้ท้าชิง พร้อมกับดารารับเชิญ 3 ท่าน หรืออาจจะมากกว่านั้น ซึ่งเชฟผู้ท้าชิงจะมาทำอาหารเมนูพิเศษตามความถนัดของตนเอง จากแบบทดสอบพิเศษ ซึ่งจะเปลี่ยนไปในแต่ละสัปดาห์ เวลาที่กำหนดในการทำอาหาร คือ 30 นาที โดยจะมีรูปแบบแบบทดสอบพิเศษต่างๆ กันไป ดังนี้
แบบเมนูประจำตัว (Signature Dish) เชฟผู้ท้าชิง จะทำอาหารด้วยวัตถุดิบที่เชฟจัดเตรียมมาสำหรับการนำเสนอเมนูของตัวเองโดยเฉพาะ
แบบอาหารตามสั่ง (Made To Order) เชฟผู้ท้าชิง จะทำอาหารจากโจทย์วัตถุดิบหลักและโจทย์รูปแบบการทำอาหาร ในไตล์ต่างๆ อาทิเช่น ไทย, จีน, ยุโรป และอื่นๆ ที่ทางรายการกำหนดมาให้ ซึ่งเปรียบเสมือนการรับรายการจากลูกค้าในรูปแบบอาหารตามสั่ง ให้ประธานสรรหาและดารารับเชิญ 3 ท่านชิมกัน
แบบ 3 วัตถุดิบปริศนา (Secret Ingredient) เชฟผู้ท้าชิง จะทำอาหารจากโจทย์วัตถุดิบปริศนา ที่ทางรายการกำหนดให้จำนวน 3 อย่าง โดยจะต้องชูรสชาติ ของวัตถุดิบลับทั้ง 3 อย่างให้ได้มากที่สุด ในบางครั้งทางรายการจะบอกวัตถุดิบปริศนามาก่อน 1 อย่าง โดยวัตถุดิบปริศนา 2 อย่างที่เหลือ จะถูกเลือกผ่านมาจาก นักช็อปปริศนา ให้ประธานสรรหาและดารารับเชิญ 3 ท่านชิมกัน
แบบบอกคำปริศนา (Story Telling) เชฟผู้ท้าชิง จะทำอาหารจากโจทย์ปริศนา 1 ประโยคจากบุคคลพิเศษ เพื่อสื่อถึงปริศนานั้น ซึ่งเปรียบเสมือนการเล่าเรื่องราวศิลปะต่างๆ ผ่านจานอาหารนั้นๆ ให้ประธานสรรหาและดารารับเชิญ 3 ท่านชิมกัน
แบบเครื่องมือปริศนา (Secret Equipment) เชฟผู้ท้าชิง จะทำอาหารจากโจทย์อุปกรณ์ปริศนา ที่ทางรายการกำหนดให้จำนวน 1 ชิ้น โดยเชฟผู้ท้าชิงต้องใช้อุปกรณ์ปริศนานั้น เป็นอุปกรณ์หลักในการทำอาหาร ให้ประธานสรรหาและดารารับเชิญ 3 ท่านชิมกัน
แบบนักชิมปริศนา (Mystery Judges) เชฟผู้ท้าชิง จะต้องทำอาหารจานพิเศษ สำหรับกลุ่มนักชิมปริศนา โดยตอบโจทย์ความต้องการของนักชิมปริศนา ให้เสร็จทันเวลาที่กำหนดและครบตามจำนวนนักชิม
ช่วงเชฟกระทะเหล็ก ประเทศไทย
เชฟผู้ท้าชิงจะต้องแข่งขันทำอาหารกับเชฟกระทะเหล็กประจำรายการ โดยผู้ท้าชิงมีสิทธิ์เลือกว่าต้องการอยากประลองยุทธ์กับเชฟกระทะเหล็กท่านใด (เชฟกระทะเหล็ก อาหารไทย, เชฟกระทะเหล็ก อาหารญี่ปุ่น, เชฟกระทะเหล็ก อาหารตะวันตก และ เชฟกระทะเหล็ก อาหารจีน) โดยทั้งสองฝ่ายจะมีวัตถุดิบหลักและเวลาเป็นตัวกำหนดสำหรับการแข่งขัน (เวลาที่กำหนดในการแข่งขัน คือ 60 นาที) มีการนำเสนอ, การแสดงความคิดเห็น และการตัดสิน หลังผู้ท้าชิงและเชฟกระทะเหล็ก ทำอาหารเสร็จเรียบร้อย จะต้องนำเสนออาหารของตัวเองต่อกรรมการก่อนชิม จากนั้นคณะกรรมการจะทำการแสดงความคิดเห็น พร้อมตัดสินว่า…อาหารจานใดระหว่าง เชฟผู้ท้าชิง หรือ เชฟกระทะเหล็ก จะมีรสชาติชนะใจกรรมการ ในกรณีที่ผลการแข่งขันเสมอกัน จะมีการแข่งขันแบบต่อเวลาพิเศษอีก 30 นาที โดยเชฟทั้งสองฝ่ายจะต้องทำอาหารเพิ่มขึ้นอีก 1 เมนู โดยใช้วัตถุดิบพิเศษที่รายการกำหนดไว้ให้
ช่วงโรงเรียนกระทะเหล็ก
เชฟกระทะเหล็ก จะมาสาธิตการทำอาหารให้แก่ดารารับเชิญและผู้ชมทางบ้านที่สมัครเข้ารวมรายการ รวม 6 ท่าน หรืออาจจะมากกว่านั้น และทุกวันพุธสุดท้ายของแต่ละเดือน เชฟผู้ท้าชิงที่เคยแข่งขันในรายการ จะมาสาธิตการทำอาหารแทนเชฟกระทะเหล็ก หลังจากนั้นจะเลือกผู้ร่วมรายการ 2 ท่าน มาทำอาหารตามเชฟกระทะเหล็กหรือเชฟผู้ท้าชิงที่เคยแข่งขันในรายการ ซึ่งผู้ร่วมรายการที่เหลือ 4 คน จะทำการชิมและให้คะแนนว่าอาหารที่คนไหนทำ อร่อยกว่ากัน คนที่ได้คะแนนมากกว่า จะได้เป็น นักเรียนดีเด่น และได้รับประกาศนียบัตรเป็นของที่ระลึก
Iron Chef thailand, Iron Chef Thailand 4 มี.ค. 2558, Iron Chef Thailand 4 มี.ค. 58, Iron Chef Thailand 4 มีนาคม 2558, Iron Chef Thailand 04/03/2558, Iron Chef Thailand ย้อนหลัง, ทีวีย้อนหลัง, เชฟกระทะเหล็กไทยแลนด์, ไอร่อนเชฟ, ไอร่อนเชฟ ย้อนหลัง, ไอร่อนเชฟ ไทยแลนด์, เชฟกระทะเหล็ก 4 มีนาคม 58
Iron Chef Thailand เชฟกระทะเหล็กไทยแลนด์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น